Loading...

STD (Sexually Transmitted Diseases)

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD คือ?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STDs (Sexually Transmitted Diseases) หรือการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ STIs (Sexually Transmitted infections) เป็นการติดเชื้อจำพวก ไวรัส แบคทีเรีย และปรสิต เชื้อสามารถส่งต่อจากคนสู่คนผ่านเลือด น้ำ อสุจิ อวัยวะเพศ และของเหลวในร่างกาย ซึ่งมักส่งต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยกลุ่มเชื้อที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มเชื้อแบคทีเรีย เช่น

          -เชื้อ Chlamydia trachomatis และ Ureaplasma urealyticum ที่ก่อให้เกิดโรคหนองในเทียม มักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ โดยไม่สวมถุง
ยางอนามัยในขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก ซึ่งรวมถึงการที่ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย หรือผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์กับผู้
หญิง ก็สามารถทำให้ติดเชื้อหนองในเทียมได้เช่นกันนอกจากนี้ยังอาจติดต่อจากแม่ไปสู่ลูกในขณะที่มีการคลอดปกติทางช่องคลอดได้อีกด้วย
– เชื้อ Haemophilus Ducreyi ก่อให้เกิดโรคแผลริมอ่อนทำให้เนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณอวัยวะเพศมีอาการเปื่อย
– เชื้อ Treponema Pallidum ก่อให้เกิดโรคซิฟิลิส สาเหตุมาจากการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยาง
อนามัย การทำ รักด้วยปากหรือการทำ ออรัลเซ็กส์ (Oral sex) การจูบที่สัมผัสกับน้ำลาย การสัมผัสกับบาดแผลหรือเยื่อเมือกของผู้ที่ติดเชื้อ หรือการติดเชื้อจากแม่
สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ หรือระหว่างการคลอดบุตร

          กลุ่มไวรัส เช่น
– เชื้อ Herpes Simplex ก่อให้เกิดโรคเริม สามารถพบการติดเชื้อได้ในหลายตำ แหน่ง เช่น ที่ริมฝีปาก หรือบริเวณอวัยวะเพศ เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับ
ผู้ที่เป็นโรคเชื้อไวรัสแล้วเข้าสู่ผิวหนัง
กลุ่มเชื้อรา และ ปรสิต เช่น
– เชื้อ Meyerozyma guilliermondii และ กลุ่มเชื้อ Candida spp. ที่ก่อให้เกิดโรคเชื้อราในช่องคลอด
– เชื้อ Trichomonas vaginalis ที่ก่อให้เกิดโรคพยาธิในช่องคลอด

อาการโดยทั่ ทั่วไปของโรคติ ติดต่ ต่อทางเพศสั สัมพั พันธ์

– มีตกขาวผิดปกติ

– ตกขาวมีกลิ่น อาการคัน หรือระคายเคือง

– มีตุ่ม ผื่น หรือแผล บริเวณวัยวะเพศ

– ปัสสาวะแสบขัด

วิธีการตรวจการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

– DNA testing by Microarray (PCR Hybridization)

– การส่องกล้อง โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

– การเพาะเลี้ยงเชื้อ

– การตรวจเลือดหาภูมิคุมกัน

วิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

– การใช้ถุงยางอนามัย

– ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย

– ไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้มีความเสี่ยงเป็นโรค

– รักษาความสะอาด ร่างกายและอวัยวะเพศ

– ตรวจสุขภาพสมํ่าเสมอ

– ศึกษาเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

– ปรึกษาแพทย์ เมื่อมีอาการผิดปกติ หรือสงสัยว่าติดต่อโรค

 

 

 

 

 

ที่มา:

– WHO. (5 March 2024). Sexually transmitted infections (STIs).

https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/sexually-transmitted-infections-(stis) – KhongkrirkKiat N, Kittiyaowamarn R, Daengsaard E. Sexually transmitted diseases 2015.

Bangkok: Aksorn Graphic and Design; 2015.
– อังคณา เจริญวัฒนาโชคชัย, บรรณาธิการ. คู่มือปฏิบัติงานดูแลรักษา. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ. 2553.

นครปฐม: โรงพิมพ์สํานักงานพระพุทธศาสนา.

 


by Pitchayani Kongcharoen
Jun 8 , 2024