Skip to Content

Systematic Infectious Diseases Genetic Testing

การตรวจการติดเชื้อในระดับดีเอ็นเอ หรือรหัสพันธุกรรม

โรคติดเชื้อสามารถเกิดกับระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกายได้ เช่น โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น การวินิจฉัยโรคติดเชื้อจำเป็นต้องถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว เนื่องจากมีผลต่อการวางแผนการรักษาอย่างมาก

40 Genotyping HPV

คือการทดสอบเพื่อหาชนิดของไวรัส HPV ที่มีทั้งหมด 40 สายพันธุ์ โดยบางสายพันธุ์สามารถทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งชนิดอื่นๆ

Urogenital System

การตรวจการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและสืบพันธุ์

Group B Streptococcus

Group B Streptococcus เป็นแบคทีเรียอยู่ภายในลำไส้ ช่องคลอด หรือทวารหนักของคนปกติ เชื้อ GBS กลับเป็นภัยเงียบที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

TORCH

การติดเชื้อกลุ่ม TORCH ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือก่อนตั้งครรภ์ สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์หรือทารกแรกเกิดได้

Respiratory System

การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอาจเกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรีย การตรวจวินิจฉัยอย่างแม่นยำช่วยให้รักษาได้ตรงจุดและลดการแพร่กระจาย

Digestive System

อาการท้องเสีย ปวดท้อง หรือคลื่นไส้ อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในลำไส้ การตรวจช่วยแยกเชื้อและวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด

Health Prediction and Assessment Genetic Testing

การตรวจประเมินสุขภาพเฉพาะบุคคลจากรหัสพันธุกรรม

โดยปกติเราจะได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมจากบรรพบุรุษ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถทราบได้เลยว่าบรรพบุรุษของเรามีความเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง ซึ่งถ้ามีการตรวจยีนและพบความผิดปกติของยีน ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะหาแนวทางแก้ไขได้ เช่น การปรับเปลี่ยนเรื่องโภชนาการและรูปแบบการดำเนินชีวิต การออกกำลังกาย การปรับอารมณ์ และสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น รวมทั้งหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เป็นการตรวจรหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคล เพื่อค้นหาความผิดปกติบนตำแหน่งของยีน ที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง

การตรวจยีนพัฒนาการเด็ก

ยีนมีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ อารมณ์ และการเจริญเติบโตของเด็ก ตรวจยีนเพื่อเข้าใจศักยภาพเฉพาะตัวของลูกคุณ

การตรวจยีนความอ้วน

ยีนความอ้วนมีผลต่อระบบเผาผลาญและการสะสมไขมัน ตรวจยีนเพื่อรู้ว่า… ร่างกายคุณตอบสนองต่ออาหารและการออกกำลังกายแบบไหนดีที่สุด!

การตรวจยีนลักษณะผิวหนัง

รู้จักผิวลึกถึงระดับยีน เพื่อเลือกดูแลได้ตรงจุด ไม่ต้องลองผิดลองถูกอีกต่อไป

การตรวจยีนที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมและการเผาผลาญอาหาร  

การตรวจวิเคราะห์ยีนที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมและการเผาผลาญอาหาร ช่วยประเมินศักยภาพของร่างกายในการจัดการสารอาหารแต่ละชนิด เพื่อวางแผนโภชนาการที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล

การตรวจยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะด้านจิตวิทยาเฉพาะบุคคล

การตรวจยีนด้านจิตวิทยา ช่วยประเมินแนวโน้มทางอารมณ์และลักษณะนิสัยเฉพาะบุคคล เพื่อวางแผนการดูแลและพัฒนาได้อย่างเหมาะสม

การตรวจยีนเพื่อประเมินการใช้กัญชาเฉพาะบุคคล

ยีนมีบทบาทในการกำหนดความไวของร่างกายต่อสารในกัญชา ทั้งด้านการออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง และความเสี่ยงต่อปัญหาทางจิตเวช

Systematic Infectious Diseases Genetic Testing

การตรวจการติดเชื้อในระดับดีเอ็นเอ หรือรหัสพันธุกรรม

โรคติดเชื้อสามารถเกิดกับระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกายได้ เช่น โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น การวินิจฉัยโรคติดเชื้อจำเป็นต้องถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว เนื่องจากมีผลต่อการวางแผนการรักษาอย่างมาก

เชื้อ Human papillomavirus (HPV) เป็นสาเหตุหลักสำคัญของการก่อโรคมะเร็งปากมดลูก และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของหญิงไทย เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักรู้ตัวและพบแพทย์ในระยะที่ลุกลามแล้วทำให้ได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที

เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เชื้อ HPV แพร่กระจายได้ง่าย ผ่านการสัมผัสกับเชื้อโดยตรงหรือการมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อ HPV สามารถหายตามธรรมชาติ ภายใน 1-5 ปี สามารถเกิดได้กับทุกเพศและทุกวัย

ตรวจหาเชื้อ HPV ได้ถึง 40 สายพันธ์ุ

     โดยจัดแบ่งตามความเสี่ยงเป็น 2 กลุ่ม

     ความเสี่ยงสูง (High risk)

  • สายพันธ์ุ 16, 18, 26, 31, 32, 33, 34, 35, 39, 45, 51, 52, 53, 54, 55, 56, 57, 58, 59, 62, 66, 68, 69, 73, 82/MM, 82/IS, 84, 89)
  • HPV 16, 18 เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้มากถึง 70 %

     ความเสี่ยงต่ำ (Low risk)

  • สายพันธ์ุ 6, 11, 40, 42, 43, 44, 61, 70, 71, 72, 81, 83
  • HPV 6, 11 พบว่าทำให้เกิดหูดหงอนไก่ ที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ุ 90 %

การตรวจเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ มักตรวจพบได้ทุกเพศทุกวัย ผู้ที่ควรตรวจคือ วัยรุ่น วัยทำงานที่มีความคึกคะนอง ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน รวมถึงมีรสนิยมเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หรือขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง  

การติดเชื้อเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

การตรวจหา 29 เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถติดต่อผ่านการมีทางเพศสัมพันธ์และสามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อ แบคทีเรีย, เชื้อไวรัส, เชื้อปรสิต และเชื้อรา

เชื้อแบคทีเรีย 19 เชื้อ

  • Chlamydia trachomatis
  • Ureaplasma urealyticum
  • Mycoplasma genitalium
  • Mycoplasma hominis
  • Neisseria gonorrhoeae
  • Treponema pallidum
  • Gardnerella vaginalis
  • Group B Streptococcus
  • Staphylococcus aureus
  • Escherichia coli
  • Enterobacter cloacae
  • Pseudomonas aeruginosa
  • Proteus mirabilis
  • Haemophilus ducreyi
  • Enterococcus faecium
  • Klebsiella pneumoniae
  • Bacteroides fragilis
  • Enterococcus faecalis
  • Atopobium vaginae

เชื้อไวรัส 2 เชื้อ

  • Herpes simplex virus 1 (HSV-1)
  • Herpes simplex virus 2 (HSV-2)

เชื้อปรสิต 1 เชื้อ

  • Trichomonas vaginalis

เชื้อรา 7 เชื้อ

  • Candida albicans
  • Candida glabrata
  • Candida krusei
  • Candida tropicalis
  • Candida parapsilosis
  • Aspergillus spp.
  • Meyerozyma guilliermondii

Group B Streptococcus เป็นแบคทีเรียอยู่ภายในลำไส้ ช่องคลอด หรือทวารหนักของคนปกติ เชื้อ GBS กลับเป็นภัยเงียบที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

เชื้อ GBS เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

Group B Streptococcus หรือ GBS เกิดขึ้นตามธรรมชาติในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น ลำไส้ ระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ สำหรับผู้ที่สุขภาพแข็งแรง แต่อย่างไรก็ตามเชื้อ GBS กลับเป็นภัยเงียบที่มีความสำคัญ สำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากคุณแม่สามารถส่งผ่านเชื้อ GBS ไปยังลูกได้ ทั้งในขณะที่ตั้งครรภ์ หรือระหว่างการคลอด ซึ่งหากไม่ได้มีการวินิจฉัยหรือการรักษาที่ทันท่วงที อาจส่งผลให้ทารกพิการ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากการติดเชื้อ GBS ที่ได้รับมาจากมารดา

การติดเชื้อกลุ่ม TORCH ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือก่อนตั้งครรภ์ สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์หรือทารกแรกเกิดได้

อันตรายที่ควรรู้!! จากเชื้อกลุ่ม TORCH ก่อนตั้งครรภ์

การติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ morbidity และ mortality ในหญิงตั้งครรภ์สูงขึ้น รวมถึงทารกในครรภ์ด้วย โดยการติดเชื้อที่ส่งผลทั้งมารดาและทารกในครรภ์จะสามารถเกิดการติดเชื้อได้ทั้งในช่วง ระหว่างการตั้งครรภ์ (antepartum) ระหว่างระยะคลอด (intrapartum) และระยะหลังคลอด (postpartum)

รายละเอียดของการติดเชื้อกลุ่ม TORCH

1. Toxoplasmosis

โรคติดเชื้อจากปรสิตที่มีชื่อว่า Toxoplasma gondii โดยเชื้อจะสามารถพบได้ในมูลของแมว เนื้อสัตว์ดิบหรือปรุงสุกๆ ดิบๆ แม้ปกติมักจะไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคล้ายไข้หวัด และเชื้อยังสามารถแพร่จากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ ผู้ที่ได้รับเชื้อในช่วงแรกของการตั้งครรภ์อาจถ่ายทอดเชื้อไปยังทารกได้น้อย แต่ในบางรายที่รุนแรงมักส่งผลให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือเกิดการแท้งบุตร สำหรับทารกที่รอดชีวิตมีแนวโน้มจะพบปัญหาสุขภาพรุนแรงตามมา เช่น ชัก ตับโต ม้ามโต ดีซ่าน หรือติดเชื้อที่ดวงตาจนตาบอดได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ติดเชื้อนี้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์อาจเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อสู่ทารกได้มากที่สุด แต่มักพบอาการผิดปกติได้น้อย และเด็กอาจพัฒนาอาการได้เมื่อโตขึ้น

2. Rubella

เชื้อไวรัส Rubella เป็นสาเหตุของโรคหัดเยอรมัน โรคนี้จะติดต่อถึงกันได้ทางการหายใจ โดยเชื้อในละอองน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยในอากาศ ถ่ายทอดไปยังผู้ที่อยู่ใกล้ๆ ในมารดาจะไม่มีอันตรายจากโรคหัดเยอรมัน แต่ทารกในครรภ์ที่มารดาติดเชื้อโรคหัดเยอรมันอาจจะเกิดความผิดปกติได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์เมื่อติดเชื้อ ถ้าอยู่ในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะพบความพิการที่เห็นได้ชัดคือ ตาเป็นต้อกระจกหรือต้อหิน หูหนวก หัวใจพิการแต่กำเนิด เด็กตัวเล็กกว่าปกติ เกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติทำให้เกิดจ้ำเลือดตามผิวหนัง ตับ ม้ามโต และมีความผิดปกติทางสมอง หรือทารกในครรภ์เสียชีวิตเพราะติดเชื้อ

3. Cytomegalovirus

ไซโตเมกาโลไวรัส หรือ CMV เป็นไวรัสชนิด DNA ทำให้ผู้ที่ได้รับเชื้อมีอาการปวดกล้ามเนื้อ มีไข้สูง เหนื่อยล้า หรือปอดบวม แต่สำหรับคนที่มีสุขภาพที่แข็งแรงอาการอาจจะไม่รุนแรงมาก แต่ถ้าหากเกิดกับทารกหรือคนที่ภูมิต่ำจะมีอาการที่รุนแรงสูง เชื้อ CMV เป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียการได้ยินของทารกแรกเกิด เมื่อหญิงตั้งครรภ์ติดครั้งแรก เชื้อจะไม่แสดงอาการผ่านร่างกายแต่สามารถถูกกระตุ้นให้กระจายเป็นระยะๆ คล้ายเชื้อไวรัสกลุ่มเริม เกิดจากระดับ IgG antibody อยู่ในระดับสูง

4. Herpes simplex virus l/ll

โรคเริม เกิดจากการติดเชื้อ Herpes simplex virus ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ 1 มักทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณปาก หรือลำตัวเหนือสะดือ และ ชนิดที่ 2 มักทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก โดยที่ เชื้อ herpes simplex virus ชนิดที่ 1 จะมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อทางเพศสัมพันธุ์น้อยกว่าชนิดที่ 2 รวมทั้งในผู้ป่วยใหม่ที่มีการติดเชื้อ herpes simplex virus มักเกิดจากเชื้อชนิดที่ 1 มากกว่าด้วย

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ที่สามารถติดต่อได้จากการไอ จาม หรือหายใจรดกัน เชื้อโรคสามารถปนเปื้อนมากับละอองของเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย หรือลอยอยู่ในอากาศ หรืออาจติดต่อจากการสัมผัสกับผู้ป่วยหรือเครื่องใช้ส่วนตัวของผู้ป่วยได้

อาการที่อาจก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจโดยรวม

  1. มีอาการไข้สูง หายใจหอบ เหนื่อย
  2. เจ็บคอ หรือมีน้ำมูกสีเขียวเหลืองร่วมกับมีไข้สูงตั้งแต่ 38.5 องศา ขึ้นไป
  3. มีอาการปวดบริเวณโพรงจมูก
  4. ปฏิเสธไม่ยอมกินอาหารและน้ำ
  5. อาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์

การตรวจหา 72 เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อ แบคทีเรีย, เชื้อไวรัส, เชื้อรา

เชื้อแบคทีเรีย 32 เชื้อ

  • Corynebacterium diphtheriae
  • Chlamydia pneumoniae
  • Chlamydia psittaci
  • Moraxella catarrhalis
  • Nocardia otitidiscaviarum
  • Nocardia asteroides
  • Nocardia brasiliensis
  • Stenotrophomonas maltophilia
  • Klebsiella aerogenes
  • Klebsiella oxytoca
  • Klebsiella pneumoniae
  • Burkholderia cepacia
  • Salmonella typhi
  • Enterococcus faecalis
  • Enterococcus faecium
  • Enterobacter cloacae
  • Ureaplasma urealyticum
  • Acinetobacter baumannii
  • Staphylococcus aureus
  • Haemophilus influenzae
  • Pseudomonas aeruginosa
  • Mycobacterium tuberculosis
  • Legionella pneumophila
  • Escherichia coli
  • Mycoplasma pneumoniae
  • Neisseria meningitidis
  • Bordetella pertussis
  • Streptococcus pneumoniae
  • Streptococcus angina
  • Group A streptococcus
  • Group B streptococcus
  • Brucella spp.

เชื้อไวรัส 36 เชื้อ

  • Human parvovirus B19
  • Measles virus
  • Enterovirus
  • Enterovirus A71
  • Enterovirus D68
  • Coxsackievirus 16
  • Coxsackievirus 4
  • Coxsackievirus 6
  • Coxsackievirus 10
  • WU Polyomavirus
  • KI Polyomavirus
  • Herpes simplex virus 1
  • Human alphaherpesvirus 3
  • Human betaherpesvirus
  • Human herpesviruses
  • Dengue virus
  • Rubella virus
  • Influenza B virus
  • Human adenovirus B
  • Human adenovirus C
  • Human adenovirus D
  • Influenza A virus H1N1 subtype
  • Influenza A virus universal
  • Influenza A virus H1N2 subtype
  • Influenza A virus H3N2 subtype
  • Parainfluenza virus (type 1,2,3,4)
  • Respiratory syncytial virus type A
  • Respiratory syncytial virus type B
  • Epstein-barr virus
  • Rhinovirus (HRV-A, HRV-B)
  • Rotavirus (Group A and Group B)
  • Human Metapneumovirus
  • Human cytomegalovirus
  • Human bocavirus
  • Corona Virus
  • Corona Virus N2

เชื้อรา 4 เชื้อ

  • Cryptococcus neoformans
  • Aspergillus fumigatus
  • Candida albicans
  • Pneumocystis jirovecii

การติดเชื้อของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรียรองลงมาคือเชื้อไวรัส ปรสิต และเชื้อรา ที่อาจเกิดจากการบริโภคอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด โดยเชื้อโรคที่อยู่ในตัวผู้ป่วยปนเปื้อนอยู่ในน้ำ อาหาร และมือ เข้าสู่ปาก โดยเชื้ออาจติดมากับภาชนะที่ปนเปื้อน  

อาการที่อาจก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารโดยรวม

  1. มีอาการปวดท้องเรื้อรังแบบเป็นๆ หายๆ
  2. ปวดตลอดเวลา หรือปวดเป็นบางครั้ง
  3. ถ่ายเป็นสีเทา หรือซีดๆ อาจมีไขมันออกด้วย น้ำหนักตัวลดลง เป็นต้น
  4. อุจจาระเป็นเลือด
  5. เบื่ออาหาร ตัวเหลือง หรือไม่มีอาการเลยก็ได้

การตรวจหา 25 เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อ แบคทีเรีย, เชื้อไวรัส, เชื้อรา

เชื้อแบคทีเรีย 14 เชื้อ

  • Campylobacter jejuni
  • Clostridium difficile
  • Escherichia coli
  • Enteropathogenic Escherichia coli
  • Escherichia coli O157
  • Helicobacter pylori CagA
  • Helicobacter pylori UreA
  • Listeria monocytogenes
  • Pseudomonas aeruginosa
  • Salmonella spp.
  • Shigella flexneri
  • Vibrio parahaemolyticus
  • Staphylococcus aureus
  • Yersinia enterocolitica

เชื้อไวรัส 10 เชื้อ

  • Coxsackievirus 16
  • Enterovirus
  • Enterovirus 71
  • Enteric Adenovirus
  • Astrovirus
  • Norovirus 1
  • Norovirus 2
  • Rotavirus A
  • Rotavirus B
  • Sapovirus

เชื้อรา 1 เชื้อ

  • Candida albicans

ไวรัสโคโรนาเป็นสาเหตุของโรคทั้งในสัตว์และคน มีไวรัสโคโรนาหลากหลายสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีอาการรุนแรง เช่น โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS), โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS) รวมถึงไวรัสโคโรนาที่ค้นพบล่าสุดซึ่งทำให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (COVID-19)

อาการที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อ COVID-19

อาการสีเขียว (อาการเบื้องต้นของผู้ติดเชื้อ)

  1. ไม่มีอาการ
  2. มีไข้/วัดอุณหภูมิได้ 37.5 C ขึ้นไป
  3. ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
  4. ถ่ายเหลว
  5. จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
  6. ตาแดง มีผื่น
  7. ไม่มีโรคประจำตัวร่วม
  8. หายใจปกติ ปอดไม่อักเสบ
  9. ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง / โรคร่วมสำคัญ

อาการสีเหลือง (เริ่มมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง)

  1. แน่นหน้าอก
  2. หายใจไม่ค่อยสะดวก
  3. หายใจเร็ว หายใจลำบาก ไอแล้วรู้สึกเหนื่อย
  4. อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
  5. ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้ง/วัน
  6. ปอดอักเสบ
  7. หน้ามืด วิงเวียน

อาการสีแดง (ผู้ป่วยอาการหนัก)

  1. หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยค
  2. แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
  3. ซึม เรียกไม่รู้สึกตัว ตอบสนองช้า
  4. ปอดบวมขั้นรุนแรง โดยมีอาการปอดบวม Hypoxic(resting O2 saturation <96 %) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 >= 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง (exerciscinduced – hypoxemia) หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates (ให้เข้าใจง่ายคือลองใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ถ้าต่ำคืออาการน่าเป็นห่วง)

Health Prediction and Assessment Genetic Testing

การตรวจประเมินสุขภาพเฉพาะบุคคลจากรหัสพันธุกรรม

โดยปกติเราจะได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมจากบรรพบุรุษ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถทราบได้เลยว่าบรรพบุรุษของเรามีความเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง ซึ่งถ้ามีการตรวจยีนและพบความผิดปกติของยีน ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะหาแนวทางแก้ไขได้ เช่น การปรับเปลี่ยนเรื่องโภชนาการและรูปแบบการดำเนินชีวิต การออกกำลังกาย การปรับอารมณ์ และสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น รวมทั้งหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

เป็นการตรวจรหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคล เพื่อค้นหาความผิดปกติบนตำแหน่งของยีน ที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง

เป็นการทดสอบ DNA เพื่อวิเคราะห์ความถนัดที่อาจจะมีการกำหนดมาจากพันธุกรรม อธิบายว่า การตรวจนี้จะช่วยให้เราค้นพบศักยภาพของตัวเราได้เร็วขึ้น โดยอาศัยข้อมูลทางพันธุกรรมเป็นหลัก Talent Genetic Test เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาความถนัด แต่ไม่ใช่ตัวกำหนดอนาคต เราสามารถใช้ผลการตรวจประกอบกับการเรียนรู้และฝึกฝนตัวเอง เพื่อต่อยอดศักยภาพที่มีอยู่



 



 

WE PROVIDE BEST 

SERVICES FOR YOU

Bring to the table win-win survival strategies to ensure proactive domination. At the end of the day, going forward, a new normal that has evolved from generation.

ติดต่อเรา