Coronary Heart Disease
โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease, CHD) เป็นภาวะที่หลอดเลือดหัวใจที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจเกิดการตีบต้นจากการสะสมของคราบไขมัน ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจลดลง และนำไปสู่การเกิดอาการเจ็บหน้าอก (Angina) หรืออาจเกิดภาวะหัวใจวายได้ CHD เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลก การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถป้องกันและจัดการกับปัจจัยเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ มีหลายประการที่สามารถเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคได้ ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่
• พันธุกรรม หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ จะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
• อายุที่เพิ่มขึ้น
• โรคเบาหวาน
• โรคความดันโลหิตสูง
• ภาวะไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ
• ภาวะหลอดเลือดอุดตัน (Thrombosis)
• ภาวะน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน
• ความเครียด
• ขาดการออกกำลังกาย
• การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์และมีไขมันสูง
• การสูบบุหรี่ สารในบุหรี่นั้นเป็นตัวเร่งให้เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็วขึ้น
โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการมีวิถีชีวิตที่ดีการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการเลิกสูบบุหรี่เป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อประเมินความเสี่ยงและรับคำแนะนำจากแพทย์เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันโรคนี้ได้
โดยปัจจุบันมีการตรวจยีนความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นการตรวจ DNA เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจจากพันธุกรรม ซึ่งแต่ละคนมีพันธุกรรมที่แตกต่างกัน โดยโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่มีความสัมพันธ์กับยีน การตรวจยีนจึงช่วยในการวางแผนดูแลและป้องกันโรคได้อย่างถูกต้อง
ที่มา
• World Health Organization. (2023). Cardiovascular diseases (CVDs). Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds).
• National Heart, Lung, and Blood Institute. (2022). Coronary Heart Disease. Retrieved from https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/coronary-heart-disease
by Pantipa Pangchat